วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 กลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategy)

กลยุทธ์ (Strategy)
- เป็นการกำหนดว่าเราจะทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
- เป็นการจักสรรทรัพยากรเพื่อให้เพียงพอต่อเป้าหมาย
-เป็นการเลือกกลยุทธ์พิเศษเพื่อนำมาใช้ทางการตลาดภายในองค์กรในการแข่งขัน
-เพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนระยะยาวสำหรับการพัฒนาองค์กร

กลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
            กลยุทธ์ เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจำเป็นไม่แพ้กัน สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ
- ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
- กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
- กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อ ที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
- จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร

กลยุทธ์หลักในการทําธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มี 4 ขั้นตอน  
          1. Strategic evaluation :   กลยุทธ์การประเมิน
          2. Strategic objectives :    กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
          3. Strategy definition :      กลยุทธ์การกําหนดนิยาม
          4. Strategy implementation : กลยุทธ์การดําเนินงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ธุรกิจกับกลยุทธ์อื่นๆ
(Relationship between e-business strategy and other strategy)


     Corporate strategy คือภาพรวมขององค์กรทั้งหมด--E-Business Strategy คือกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ SCM strategy และ Marketing/CRM strategy 

A generic strategy process model


คือ กลยุทธ์ทั่วไปที่นำมาใช้ได้ผลทุกสถานการณ์
1.                1. การวิเคราะห์กลยุทธ์ คือการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกและทรัพยากรภายในขององค์กร
2.                2. การตั้งวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์  ได้แก่การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์
3.                3 .คำนิยามของกลยุทธ์  ได้แก่การกำหนดกลยุทธ์ การประเมิน และการเลือกนำไปใช้
4.               4. การดำเนินการตามกลยุทธ์ ได้แก่การวางแผน การ การนำไปปฏิบัติ และการควบคุม
เพื่อนำสิ่งที่ได้มาทำการประเมินผลการตรวจสอบและตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ให้มากที่สุด

Dynamic e-business strategy model


     คือ กลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนที่
   เริ่มจากการนำกิจกรรมเข้าสู่กระบวนการสร้างองค์ความรู้และประเมินความสามารถ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกนำมาสู่การออกแบบธุรกิจคามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรธุรกิจ นำสิ่งที่ได้ไปสร้างเป็นแบบพิมพ์เขียว(คือการวางแผน การสร้าง(แอฟฟลิเคชั่นต่างๆ)  และจัดลำดับความสำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการนำเอาแอฟฟลิเคชั่นไปใช้งาน รวมถึงการติตามผลการส่งข้อมูล (Feed back) กลับไปยังกระบวนการในขั้นตอนแรกเพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานในครั้งต่อไป






Strategy process models for E-Business
     Strategy Formulation 
      คือลำดับขั้นตอนของการวางกลยุทธ์อิเล็กทรอนิกส์
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณาแง่ต่างๆ
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน
- กำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กรเพื่อกำหนดให้แน่ชัดว่าองค์กรจะมีลักษณะใด มีหน้าที่บริการอะไร แก่ใคร โดยมีปรัชญาหรือค่านิยมหลักในการดำเนินการอย่างไร
- กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรในระยะแผนกลยุทธ์
- การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์ แนวทางพัฒนาองค์การ
     Strategy Implementation
- การกำหนดเป้าหมายดำเนินงาน
- การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องดำเนินการ
- การปรับปรุงพัฒนาองค์กร ทั้งด้านโครงสร้างระบบงาน ทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
     Strategy Control and Evaluation
- การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
- การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์

Business Environment สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ


         สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ หมายถึง สิ่งต่างๆที่มีอิทธิพล และส่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร อาจจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ อันได้แก่ สภาพแวดล้อมภายในองค์กร และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ภาคพลังงาน ภาคขนส่ง ภาคพานิชยกรรม และภาคเกษตรกรรม ล้วนส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ ซึ่งจะปรากฏในรูปของมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535

1.สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment)
เป็นแรงผลักดันภายในธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการและดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่ง ธุรกิจสามารถควบคุมและจัดการสภาพแวดล้อมลักษณะนี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่ต้องการได้ ซึ่งในการจัดการผู้บริหารต้องทำการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพื่อประเมินจุดแข็ง (strengths) และจุดอ่อน (weakness) ขององค์การ

2.สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการควบคุมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดขอบเขตได้อย่างชัดเจนดังนั้นสภาพแวดล้อมภายนอกของธุรกิจจึงได้แก่องค์ประกอบทั้งหมดที่อยู่ภายนอกธุรกิจซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานส่วนหนึ่งส่วนใด หรือ ทั้งหมดของธุรกิจเป็นพลังผลักดันจากภายนอกองค์การที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการบรรลุเป้ าหมายขององค์การ ซึ่งพลังเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและก่อให้เกิดทั้งที่เป็นโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ต่อการดำเนินงานขององค์การประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหาภาค

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment
        คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
        - ตลาด หรือลูกค้า (Market)
        - ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
        - คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
        - สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)    
           
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)
        คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
        - ด้านการเมืองและกฎหมาย
        - เศรษฐกิจ
        - สังคม
        - เทคโนโลยี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


           SWOT (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัย เหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร

1.S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
2. W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
3.O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
4.T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix
1) SO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาส มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรุก
2) ST ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและอุปสรรค มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน
3) WO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาส มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข
4) WT ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรค มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรับ

E-environment

Social Factor สภาวะแวดล้อมทางสังคม องค์การธุรกิจอยู่ในสังคม อยู่ท่ามกลางกลุ่มบุคคลต่าง ๆ จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม จากผลกระทบของพนักงานจากมลภาวะที่เกิดจากการทำงาน จากคุณภาพของสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคมนั้น

Political and Legal Factorสภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทางการเมืองเพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ

Economic Factor สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic)เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากรปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สําคัญต่อการดําเนินงานขององค์กรธุรกิจซึ่งมีปัจจัยที่จะต้องนํามาศึกษาหลายปัจจัย

Economic Factor ภาวะราคาน้ำมันความผันผวนของราคาน้ำมันที่ผ่านมาเป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีใครสามารถกําหนดราคาน้ำมันล่วงหน้าได้ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยเมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้นทําให้ต้นทุนการผลิตของกิจการหรืออุตสาหกรรมต่างๆสูงขึ้นตามไปด้วยในทางตรงกันข้ามหากสภาพคล้องทางการเงินมีมากอัตราดอกเบี้ยจะลดต่ำลงผู้คนในสังคมจะมีกําลังซื้อมากขึ้นส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัว ธุรกิจต่างๆ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะได้รับผลดีตามไปด้วย

Technological Factor สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยีปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น