ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์(Electronic
Business)
คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม
(Internetworked
Network) ไ ม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน
หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC COMMERCE)
การประยุกต์ใช้ (E-commerce
Application)
- - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
- - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
- - การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
- - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
- - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่(M-Commerce
: Mobile Commerce)
โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce
Infrastructure)
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1 1. ระบบเครือข่าย (Network)
2 2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel
Of Communication)
3 3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา
(Format
& Content Publishing)
4 4.การรักษาความปลอดภัย (Security)
การสนับสนุน (E-Commerce
Supporting)
1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce
Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce
Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce
Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain
Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website
Promotion
The Dimensions of E-Commerce
Business Model of E-Commerce
Brick – and – Mortar Organization
องค์กรเก่าเศรษฐกิจ (บริษัท )
ที่ดำเนินการส่วนใหญ่ของธุรกิจแบบออฟไลน์ขายสินค้าทางกายภาพโดยใช้วิธีการทางกายภาพตัวแทน
Virtual Organization
องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ แต่เพียงผู้เดียว
Click – and – Mortar Organization
องค์กรที่ดำเนินการบางกิจกรรมโดยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แต่ทำธุรกิจหลักในโลกทางกายภาพ
ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits
Organization)
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Customer (B2C)
3. Business-to-Business-to-Customer
(B2B2C)
4. Customer-to-Customer (C2C)
5. Customer-to-Business (C2B)
6. Mobile Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit
Organization)
1. Intrabusiness
(Organization) E-Commerce
2. Business-to-Employee (B2E)
3. Government-to-Citizen (G2C)
4. Collaborative Commerce
(C-Commerce)
5. Exchange-to-Exchange (E2E)
6. E-Learning
E-Commerce Business Model
แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึงวิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึงวิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิกในการศึกษาได้แก่
AOL
(ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal(หนังสือพิมพ์),
JobsDB.com (ข้อมูลตลาดงาน), และ Business
Online (ข้อมูลบริษัท)
ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น
รายได้จากการโฆษณา หรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม
ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือการมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี
พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว
ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce
ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerce อื่น
ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล
และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign
(ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐาน),
Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น), และ FedEx
(บริการจัดส่งพัสดุ)
ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce
โ ดยรวมกล่าวคือหากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัวและมีผู้ประกอบการ E-Commerce
มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น
ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ
E-Commerce
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce
คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้
ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ใ
นกรณีศึกษาได้แก่Amazon (หนังสือ), 7dream
(ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย),
1-800-Flowers (ดอกไม้),Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณี)
รายได้หลักของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาจากการจำหน่ายสินค้า ในช่วงแรกผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
มักคาดหวังว่า การประกอบการโดยไม่ต้องมีร้านค้าทางกายภาพจะช่วยให้ตนมีต้นทุนที่ต่ำ
และสามารถขายสินค้าให้แก่ ลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งได้ อย่างไรก็ตาม
ในช่วงเวลาต่อมาเราจะพบว่า
ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า
เราจึงพบว่าธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้างร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจที่เรียกว่า
Click-and-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม
ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce
ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมาก
เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวทำได้ง่าย
ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง
และมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้
การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง
และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก
ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกันในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้
บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
ใ นกรณีศึกษา ไ ด้แก่ MERX (การให้ข้อมูลการ
ประกวดราคาของโครงการรัฐ),
Buyers.Gov (การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ) และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชน)
บริการในกลุ่มนี้มักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ
(eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน (MERX) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ (Buyers.Gov)
เป็นต้น
ปัจจัยในความสำเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการศึกษาความต้องการของประชาชนหรือผู้ใช้บริการ
แล้วออกแบบระบบให้มีความสอดคล้องกับความต้องการนั้น
นอกจากนี้ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งต่อความสำเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ
การกำหนด มาตรฐานของข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ของบริการต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันให้มีความสอดคล้องกันเช่น
ในกรณีของ eCitizenซึ่งสามารถ
ทำให้เกิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (Single Stop Service)
ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ
B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม
นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของ
สินค้า ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
แบบ B2C ใ นกรณีศึกษาได้แก่ Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์)
และ Priceline (สินค้าท่องเที่ยว)
เป็นต้น รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่งคือแบบ C2C ธุรกิจ
ในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกันปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น
ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก ส่วนปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกง
ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างของธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace)
ใ นกรณีศึกษาได้แก่ PaperExchange (กระดาษ),
FoodMarketExchange (อาหาร),
DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ
Translogistica (ขนส่งทางบก)
ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่
ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ใ นช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้
ขาย (Independent Market Maker)ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง
(liquidity)มากพอ
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ หรือผู้ขายแล้วแต่กรณี
ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
รูปแบบในการใช้ E-Commerce
ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่
การบริหาร
ซัพพลายเชน (Supply Chain
Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CustomerRelationship Managem en t) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษาได้แก่
Dell(คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล),
Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ),
W.W.Grainger (สินค้า MRO), และGMBuyPower (ยานยนต์)
ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory)
เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น
ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้
ลูกค้า
ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์
และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น