วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 9 E-Government

ประวัติความเป็นมา E-Government
          การก้าวไปสู่ e-government จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน และการให้บริการของภาครัฐเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น กว่าเดิม จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆทั่ว โลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การเป็นe-government และมีการประกาศนโยบายในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ


         ตัวอย่างเช่น   สหราชอาณาจักร ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2005 ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเข้าจากที่บ้าน หรือจุดให้บริการในชุมชน ก็ตาม รวมทั้งการบริการของภาครัฐทุกอย่างจะทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในขณะที่สิงค์โปร์เองก็ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2001 counter services ของรัฐ 100% จะเป็นการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ออสเตรเลียระบุว่ารัฐจะให้บริการที่เหมาะสมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันหมายถึงผ่านทางอินเทอร์เน็ตภายในปี ค.ศ. 2001 ส่วนแคนาดามีเป้าหมายว่าบริการของรัฐทุกอย่างจะเป็นแบบ online ภายในปี ค.ศ.2004 โดยมีบริการหลักบางอย่างสามารถให้บริการได้ก่อนในปี ค.ศ. 2000 สำหรับเนเธอร์แลนด์มีเป้าหมายว่า 20%ของบริการของรัฐสามารถให้ online ได้ในปี ค.ศ. 2002 สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเองก็กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้บริการต่างๆ และบริการด้านข้อมูลของภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี ค.ศ. 2003 แต่ประเทศซึ่งอาจเป็นแชมป์ e-government เร็วที่สุด เนื่องจากกำหนดไว้ว่าในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2000 นี้ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและเอกสารของรัฐได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ประเทศฝรั่งเศส


         สำหรับประเทศไทย ในเรื่องการบริหารและการบริการของรัฐแก่ประชาชน มีการกล่าวถึง ตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78 หรือแผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการนำไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ในแผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุว่าหน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอที และบุคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที ในแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐก็ได้กำหนดกิจกรรมหนึ่งที่ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการไว้ในแผนหลักเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารของภาครัฐว่า การพัฒนาให้มีระบบสารสนเทศของหน่วยงานกลางในภาครัฐ ตลอดจนนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและการให้บริการแก่ประชาชน จะเห็นว่าในระดับนโยบายนั้นมีการให้ความสำคัญในเรื่องนี้ มาโดยตลอด

ความหมาย E-Government
            รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า E-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย สื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน
          E-Commerce คือบริการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C และ B2B เป็นหลัก E-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  


หลักของ E-Government
G2G : ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน(Government to Government)
G2C : ภาครัฐสู่ประชาชน(Government to Citizen)
G2B : ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business)
G2E : ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ(Government to Employee)

1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์

2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก

3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)ป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน       (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Government Data Exchange) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับ         รัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office      ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น     อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม

        4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)  เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ(Employee) กับ                รัฐบาลโดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ        ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมายและข้อบังคับในการปฏิบัติราชการระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น


การนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย
           ปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนา e-Government ในระดับหนึ่ง โดยที่หน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ มีการสร้างเว็บไซต์ ในระดับกรม  และ กระทรวงครบถ้วน โดยการตรวจสอบและประเมินผลเบื้องต้นของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพบว่า เว็บไซต์ส่วนใหญ่ของทางราชการมีข้อมูลให้บริการต่อประชาชน มีความสวยงาม แต่ยังขาดการดูแลรักษาให้เป็นปัจจุบัน มีจำนวนที่มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน โดยการใช้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และมีเว็บบอร์ด แต่ไม่มากนักที่มีการตอบปัญหา และข้อสงสัยของประชาชนอย่างรวดเร็ว
 เว็บไซต์ของส่วนราชการสองถึงสามหน่วย ที่ให้บริการระดับ 3 คือ มีการทำธุรกิจที่เคยต้องเดินทางไปทำที่หน่วยราชการมาบรรจุลงในบริการผ่านเว็บไซต์ ได้แก่ ระบบ e- Revenue เพื่อชำระภาษีประเภทต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร และเว็บไซต์ Khonthai.com ของกรมการปกครอง เพื่อให้บริการด้านงานทะเบียนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนชื่อสกุล จดทะเบียนสมรส เป็นต้น นอกจากนั้น ระบบทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง ยังได้ต่อเชื่อมกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ 53 หน่วยงานในการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลทะเบียนกลางร่วมกัน เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถานพยาบาลในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ทบวงมหาวิทยาลัย กรมบังคับคดี และกรมการกำลังสำรองทหารบก กระทรวงกลาโหม เป็นต้น



ข้อดี E-Government
     -  สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
     - ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น สะดวกขึ้น เสียเวลากับรัฐน้อยลง เพราะมีช่องทางบริการใหม่ๆ
     - เกิดขึ้นในศูนย์บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) , บริการทางเว็บไซต์, การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (WAP) เป็นต้น
     - รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น
     - ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
     - ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
     - หากมีการนำระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนจะได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อกับภาครัฐมากขึ้น โดยสามารถขอรับบริการได้ตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง

ข้อเสีย E-Government
          ข้อเสียหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการขาดของความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงประชาชนเพื่ออินเทอร์เน็ตความน่าเชื่อถือของข้อมูลบนเว็บและวาระซ่อนเร้นของกลุ่มรัฐบาลที่อาจมีผลต่อและมีอคติความคิดเห็นของประชาชน มีการพิจารณาจำนวนมากและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการและการออกแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึง disintermedeation ของรัฐบาลและประชาชนผลกระทบต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองช่องโหว่ในการโจมตีไซเบอร์และระเบิดที่สถานะเดิมในพื้นที่เหล่านี้



   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น